โฮลิสต้า (ประเทศไทย) | HOLISTA

ไฟเบอร์ กับดีท็อกซ์ ต่างกันอย่างไร?

ปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายคงสร้างความน่ารำคาญใจในการใช้ชีวิตไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือพุงป่อง โดยปัญหาเหล่านี้มักเกิดจาก “อาหาร” ที่คุณรับประทานเข้าไป รวมถึงพฤติกรรมการอั้นอุจจาระบ่อย ๆ ซึ่งพอพูดถึงปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายและระบบการย่อยอาหาร แน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึงการทานไฟเบอร์หรือดีท็อกซ์ที่มีประโยชน์ต่อการปรับระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ตามปกติ

 

แม้ว่าทั้งสองอย่างนี้จะมีคุณประโยชน์คล้าย ๆ กัน แต่รู้หรือไม่ว่าทั้งสองอย่างนี้มีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าอยากรู้ว่าทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านอะไรได้บ้าง วันนี้เราจะพาไปรู้จักไฟเบอร์กับดีท็อกซ์กันค่ะ

ไฟเบอร์คืออะไร ?

ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร ที่มีอีกชื่อว่า “เซลลูโลส” เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบได้ในอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งร่างกายคนเราจะไม่สามารถย่อยสลายและนำไปใช้งานได้เอง แต่ไฟเบอร์จะมีความสำคัญในการช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ตามปกติ ตั้งแต่การขับถ่ายไปจนถึงการสร้างภูมิคุ้มกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องได้รับไฟเบอร์เข้าสู่ร่างกายเป็นประจำในทุก ๆ วัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดีค่ะ

ดีท็อกซ์คืออะไร?

Detoxification หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ดีท็อกซ์” เป็นกระบวนการล้างสารพิษและสิ่งสกปรกจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่สะสมตกค้างให้ออกจากร่างกายของเรา เพราะร่างกายไม่สามารถทำความสะอาดหรือขับสารพิษออกมาได้เองทั้งหมด ร่างกายทำได้เพียงแค่กำจัดของเสียและสารพิษออกด้วยการขับของเสียผ่านทางปัสสาวะ อุจจาระ และเหงื่อเท่านั้น

ดังนั้นการดีท็อกซ์จะช่วยทำให้ขับของเสียและสิ่งตกค้างได้ดียิ่งขึ้น โดยการดีท็อกซ์สามารถทำได้ด้วยกันหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารให้เหมาะสม การดื่มน้ำมะนาวร้อนในตอนเช้า การสวนล้างลำไว้ด้วยอุปกรณ์และน้ำเกลือ หรือการรับประทานอาหารเสริม เป็นต้น ซึ่งทุกวิธีล้วนมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยทั้งสิ้น แต่สำหรับการสวนล้างลำไส้นั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการทำค่ะ

ไฟเบอร์ กับ ดีท็อกซ์ แตกต่างกันอย่างไร ?

ไฟเบอร์นั้นเป็นเส้นใยอาหารที่มาจากผักผลไม้ มีคุณสมบัติโดดเด่นที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้การทำงานของลำไส้เกิดความสมดุล ช่วยลดอาการท้องผูก ปวดท้อง แน่นท้องให้ดีขึ้น ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติและขับถ่ายเป็นเวลา 

 

แต่ดีท็อกซ์นั้นเป็นกระบวนการล้างสารพิษและสิ่งสกปรกจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่สะสมตกค้างให้ออกจากร่างกาย เรียกได้ว่าพอรับประทานทานดีท็อกซ์เข้าไปร่างกายก็จะขับถ่ายสารตกค้างออกมาจนหมด ทำให้ไม่หลงเหลือสารพิษและสิ่งสกปรกตกค้างภายในร่างกายเลย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าดีท็อกซ์ก็เหมือนกับยาระบาย (ยาถ่าย) ที่จะช่วยชำระของเสียให้ออกไปจนหมด และช่วยทำความสะอาดระบบต่าง ๆ ให้สามารถกลับมาทำงานได้ดีขึ้นนั่นเองค่ะ

 

ทั้งนี้ไฟเบอร์และดีท็อกซ์ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะช่วยให้รู้สึกสบายตัว ไม่อึดอัดท้อง ไม่แน่นท้อง ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายของเสียได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในผู้ที่มาอาการท้องผูกเป็นประจำ และมีปัญหาระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ นอกจากนี้การไฟเบอร์และดีท็อกซ์ยังส่งผลดีต่อสุขภาพใจ ช่วยให้รู้สึกสดชื่น ลดความเครียด และปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุลอีกด้วยค่ะ

 

แต่สำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักผลไม้ อาหารที่มีกากใย และไม่อยากทำการสวนลำไส้ ก็สามารถหันมาพิจารณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Holistagold ซึ่งจะประกอบไปด้วยพรีไบโอติกและโพรไบโอติก ซึ่งเป็นตัวช่วยในการปรับสมดุลให้กับระบบขับถ่าย และช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นกรดไหลย้อน?

หลายคนคงเคยประสบปัญหากับอาการเรอเปรี้ยวปาก มีรสขมในปาก จุกเสียดแน่นท้อง หรือปวดแสบปวดร้อนกลางอก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกรดไหลย้อน” หรือ GERD (Gastroesophageal Reflux Disease) ที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบได้มากในกลุ่มคนอ้วน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร และการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น

 

โรคกรดไหลย้อนนับเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและสร้างความน่ารำคาญในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังไม่สามารถรักษาหายได้ด้วยการรับประทานยาอย่างเดียว แต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งหมด!

 

วันนี้เราจึงได้รวบรวมอาการและสาเหตุของการเป็นโรคกรดไหลย้อนมาให้แล้ว เพื่อที่คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อนกำเริบ ซึ่งสัญญาณเตือนของการเป็นโรคกรดไหลย้อนจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

กรดไหลย้อนเกิดจากอะไร?

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วกลไกร่างกายของเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างหลังจากรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมักจะมีกรดที่ย้อนขึ้นมาในปริมาณมากและบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือเรียกว่าหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร่วมได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน

หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคกรดไหลย้อน คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้วล้มตัวนอนลงทันที ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ รวมไปถึงท่านอนราบก็ยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ อีกทั้งการกินแล้วนอนทันทียังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่าเลยค่ะ

 

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
  • การรับประทานของมันหรือของทอดมากเกินไป
  • ภาวะความเครียด เพราะความเครียดทำให้ภาวะหลอดอาหารมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น อ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน
  • แสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก มักเกิดหลังเมื่อรับประทานอาหารมื้อหนัก
  • เรอเปรี้ยวหรือขมในปาก มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  • ท้องอืด แน่นอนท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
  • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
  • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  • เจ็บคอเรื้อรัง หืดหอบ ไอแห้ง หรือเสียงแหบ

การป้องกันโรคกรดไหลย้อน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม กระเทียม หัวหอม เป็นต้น 
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ และปรับเปลี่ยนแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ แทน
  • ผ่อนคลายความเครียด เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ เป็นต้น
  • การควบคุมน้ำหนัก เพราะถ้าหากน้ำหนักลดลง ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลงตาม ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง อาการกรดไหลย้อนก็จะลดลงตามไปด้วย
  • หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หรือหากนอนควรนอนหนุนหมอนสูง และไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที
  • การทานโพรไบโอติกจะช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน

โพรไบโอติกช่วยรักษากรดไหลย้อนได้อย่างไร?

โพรไบโอติกรักษากรดไหลย้อน

โพรไบโอติก เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถทนต่อกรดและด่างได้ อีกทั้งยังต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ไม่ดีอื่นๆ ได้ทั้งหมด เมื่อรับประทานโพรไบโอติกเข้าไปแล้วก็จะช่วยให้เกิดความสมดุลของร่างกายทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของลำไส้ที่แข็งแรง ผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง รวมถึงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

 

ซึ่งโพรไบโอติกก็มีสรรพคุณในการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร ช่วยให้ลำไส้และหูรูดบีบตัวได้อย่างเป็นปกติ ทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ขับถ่ายของเสียที่สะสมในลำไส้ รวมถึงยังลดความเสี่ยงการเกิดกรดไหลย้อนได้อย่างถาวร

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโรคกรดไหลย้อนนั้นเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ด้วยการรับประทานยาอย่างเดียว แต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งหมด เพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้กรดไหลย้อนกำเริบ 

ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม รวมไปการควบคุมความเครียด การควบคุมน้ำหนัก และการทานโพรไบโอติก แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ แล้ว อาการกรดไหลย้อนก็ยังไม่ดีขึ้น เป็นเรื้อรังไม่หายขาด เราแนะนำให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจอาการของโรคเพิ่มเติมค่ะ

โพรไบโอติก ควรรับประทานนานแค่ไหน?

โพรไบโอติก (Probiotic) จัดว่าเป็นอาหารเสริมที่ไม่ต่างจากวิตามินตัวอื่น ๆ จึงทำให้หลายคนสงสัยว่าโพรไบโอติกนั้นควรรับประทานนานแค่ไหน หรือหยุดทานแล้วจะมีผลข้างเคียงไหม แต่ก่อนที่จะสงสัยไปมากกว่านี้ เรามาทำความรู้จักกับไพรโบโอติกกันก่อนว่าคืออะไร ทำไมร่างกายถึงต้องการโพรไบโอติกไม่แพ้กับวิตามินตัวอื่น วันนี้ Holista จะพาไปไขข้อสงสัยกัน ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันเลย!

โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร?

โพรไบโอติก เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถทนต่อกรดและด่างได้ อีกทั้งยังต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ไม่ดีอื่นๆ ได้ทั้งหมด เมื่อรับประทานโพรไบโอติกเข้าไปแล้วก็จะช่วยให้เกิดความสมดุลของร่างกายทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของลำไส้ที่แข็งแรง ผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง รวมถึงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

ซึ่งอาหารที่พบโพรไบโอติกได้มากที่สุดก็คือ “โยเกิร์ต” ตามด้วยอาหารหมักดองต่าง ๆ เช่น นมเปรี้ยว กะหล่ำปลีดอง คอมบูชา ผักดอง และกิมจิ แต่ถ้าใครไม่ชอบทานอาหารหมักดอง อาหารเสริมโพรไบโอติกที่รวมจุลินทรีย์มากมายหลายสายพันธุ์ก็ถือว่าตอบโจทย์ เพราะสามารถช่วยปรับสมดุลในระบบขับถ่ายและระบบทางเดินอาหารได้ดีเช่นเดียวกันค่ะ

ทำไมร่างกายถึงต้องการโพรไบโอติก (Probiotic)?

ปวดท้อง

ต้องอธิบายก่อนว่าภายในลำไส้ของคนเรานั้นเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่จะคอยสร้างระบบนิเวศอย่าง ไมโครไบโอม (Microbiome) ที่เป็นส่วนช่วยทำให้เกิดความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ไมโครไบโอมแข็งแรงได้ก็คือการทานอาหารที่จะช่วยปรับความสมดุลระหว่างแบคทีเรียทั้งดีและไม่ดีเกือบ 1,000 สายพันธุ์ในลำไส้ โดยต้องเป็นอาหารที่จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลายชื่นชอบมันด้วย

ซึ่งแน่นอนว่าโพรไบโอติกก็จัดเป็นอาหารที่จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลายต่างชื่นชอบ การทานโพรไบโอติกเป็นประจำจึงช่วยให้ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารในลำไส้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดการอักเสบ และเสริมการทำงานระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

แต่ในทางกลับกันหากร่างกายของเราสูญเสียโพรไบโอติกจำนวนมาก พื้นที่ในลำไส้ก็จะถูกยึดครองด้วยแบคทีเรียชนิดไม่ดีที่เป็นพิษต่อร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมา เริ่มตั้งแต่ระบบย่อยอาหารมีปัญหา เกิดแก๊ส อาการท้องอืด การขับถ่ายผิดปกติ ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกง่าย รวมไปถึงสุขภาพจิตที่แปรปรวน เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเรามองข้ามและปล่อยอาการเหล่านี้ไว้นาน ๆ ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมได้ ดังนั้นเราจึงควรรักษาระบบนิเวศน์ของจุลินทรีย์ให้อยู่ในสมดุลอยู่เสมอ หรือจดจำง่าย ๆ ว่าร่างกายต้องมีแบคทีเรียดีมากกว่าแบคทีเรียไม่ดี เพื่อให้ลำไส้ของคุณมีสุขภาพดีค่ะ

การรับประทานโพรไบโอติก ควรรับประทานนานแค่ไหน?

โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึงจะเริ่มรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพลำไส้ เนื่องจากโพรไบโอติกจะต้องใช้ระยะเวลาในการเพิ่มจำนวนและคืบคลานเข้าสู่ลำไส้ เพื่อให้มีแบคทีเรียดีมากกว่าแบคทีเรียก่อโรค ดังนั้นคุณจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนก็ต่อเมื่อระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น ขับถ่ายง่าย ไม่ปวดท้อง ผิวพรรณเปล่งปลั่ง รวมถึงร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในลำไส้ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น

– สายพันธุ์โพรไบโอติกที่แบรนด์เลือกมาใช้

– ปริมาณโพรไบโอติกต่อ 1 หน่วยบริโภค 

– รูปแบบของอาหารเสริม (ผง เยลลี่ แคปซูล) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลำเลียงโพรไบโอติกไปถึงลำไส้ได้ต่างกัน

ปัญหาสุขภาพส่วนบุคคล ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับลำไส้และระบบทางเดินอาหาร

 

การหยุดรับประทานโพรไบโอติก มีผลข้างเคียงหรือไม่?

อย่างที่บอกว่าโพรไบโอติกเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก จึงทำให้สามารถย่อยสลายตัวเองไปได้เรื่อย ๆ และแน่นอนว่าเมื่อเราหยุดทานโพรไบโอติก ความสมดุลของจุลินทรีย์ก็จะเปลี่ยนไป ส่งผลให้แบคทีเรียก่อโรคสามารถเข้ามารุกล้ำพื้นที่ในลำไส้ได้ง่ายขึ้น โดยผู้ที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังหยุดทานโพรไบโอติกได้ชัดเจนสุด ๆ ก็คือผู้ที่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้และระบบทางเดินอาหารมาก่อน ซึ่งก็อาจทำให้กลับไปเป็นอาการเดิมได้ เช่น แก๊สในกระเพาะเยอะ ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูก ย่อยอาหารยาก เป็นต้น

สรุปได้ว่าการรักษาสมดุลจุลินทรีย์โพรไบโอติกในร่างกายก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำในช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วจบ การทานโพรไบโอติกต้องใช้ระยะเวลาในการเพิ่มจำนวนและส่งกองทัพโพรไบโอติก
คืบคลานเข้าสู่ลำไส้ เพื่อไปต่อสู้กับแบคทีเรียก่อโรค !

ดังนั้นถ้าอยากรักษาโพรไบโอติกให้อยู่กับร่างกายไปนาน ๆ ก็ต้องหมั่นเติมและเพิ่มจำนวนอยู่เสมอ แล้วเมื่อคุณมีสุขภาพลำไส้ที่ดีแล้ว ก็อาจลดปริมาณในการโพรไบโอติกลงได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อคนเราทานโพรไบโอติกแล้วมีสุขภาพดีขึ้น ก็มักจะอยากคงสภาพนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จึงเลือกทานโพรไบโอติกเพื่อรักษาสมดุลแบคทีเรียดีในลำไส้อย่างต่อเนื่องนั่นเองค่ะ

รู้จักกับอาหารที่ไม่เป็นมิตรกับ จุลินทรีย์โพรไบโอติก !

อย่างที่ทราบกันดีว่าภายในลำไส้ของเรานั้นเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่จะคอยสร้างระบบนิเวศอย่าง ไมโครไบโอม (Microbiome) ที่เป็นส่วนช่วยทำให้เกิดความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ไมโครไบโอมแข็งแรงได้ก็คือ การทานอาหารที่จะช่วยปรับความสมดุลระหว่างแบคทีเรียทั้งดีและไม่ดีเกือบ 1,000 สายพันธุ์ในลำไส้ โดยต้องเป็นอาหารที่จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลายชื่นชอบมันด้วย

และแน่นอนว่า “โพรไบโอติก (Probiotic)ก็จัดเป็นอาหารที่จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ทั้งหลายต่างชื่นชอบ เมื่อเรารับประทานโพรไบโอติกเข้าไปแล้วก็จะช่วยให้เกิดความสมดุลของร่างกายทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของลำไส้ที่แข็งแรง ผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง รวมถึงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากร่างกายของเราสูญเสียโพรไบโอติกจำนวนมาก พื้นที่ในลำไส้ก็จะถูกยึดครองด้วยแบคทีเรียชนิดไม่ดีที่เป็นพิษต่อร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตามมา เช่น ร่างกายอ่อนแอ ท้องผูก ท้องเสีย และอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

โดยสาเหตุหลักที่จะทำให้ร่างกายสูญเสียโพรไบโอติกจำนวนมากได้นั้นก็เกิดจาก “อาหาร” เพราะไม่ว่าเราจะรับประทานอาหารอะไรเข้าไป อาหารเหล่านั้นก็จะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในลำไส้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าหากเราทานอาหารที่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในลำไส้ไม่ชื่นชอบ ก็จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพรไบโอติกลงไปเรื่อย ๆ นั่นเองค่ะ 

วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ 3 ชนิดอาหารที่ไม่เป็นมิตรกับโพรไบโอติก และควรหลีกเลี่ยงถ้าไม่อยากให้จำนวนโพรไบโอติกในลำไส้ลดลง ซึ่งจะมีอาหารชนิดไหนบ้าง ไปดูกันเลย!

3 ชนิดอาหารที่ไม่เป็นมิตรกับจุลินทรีย์โพรไบโอติก !

1. อาหารไขมันสูงและน้ำตาลสูง

อาหารไขมันสูงและน้ำตาลสูง

การทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงอยู่บ่อย ๆ จะส่งผลให้จำนวนแบคทีเรียดีในลำไส้ลดลง และแทนที่ด้วยแบคทีเรียไม่ดีที่ก่อให้เกิดสารพิษ (Endotoxin) ในร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดอาการอักเสบเรื้อรังได้ง่าย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง หลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพื่อรักษาโพรไบโอติกให้กับแบคทีเรียดีลำไส้กันนะคะ

2. สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

เชื่อว่าในปัจจุบันมีหลายคนหันมารับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลกันเป็นเรื่องปกติ เพราะอยากดูแลสุขภาพ ลดน้ำหนัก ลดน้ำตาลและไขมัน แต่รู้หรือไม่ว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้เป็นเพียงกลไกที่หลอกร่างกายเพียงเท่านั้น แม้จะลดน้ำตาลในร่างกายได้จริง แต่ก็ทำให้ร่างกายโหยความหวานอยู่เรื่อย ๆ และที่สำคัญยังเป็นสารที่ไม่ได้อร่อยสำหรับเจ้าแบคทีเรียดีในลำไส้ ซึ่งถ้าหากคุณรับประทานสารเหล่านี้อย่างเป็นประจำก็อาจทำให้แบคทีเรียในลำไส้เสียความสมดุล และส่งผลให้จำนวนโพรไบโอติกในลำไส้ลดลงอีกด้วย

3. แอลกอฮอล์

แอลกอฮอลล์

แอลกอฮอล์จัดว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีสารพิษ (Endotoxin) อยู่เยอะมาก ๆ แถมยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ยิ่งถ้าหากดื่มแอลกอฮอล์เยอะมากเท่าไหร่ สารพิษจากแอลกอฮอล์ก็จะตกค้างในร่างกายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งถ้าหากร่างกายกำจัดสารพิษออกไม่ทันก็อาจทำให้ลำไส้เกิดการระคายเคืองและอักเสบ เพราะลำไส้สูญเสียโพรไบโอติกไปจำนวนมาก จนอาจนำไปสู่โรคไขมันพอกตับ ตับแข็ง มะเร็งตับ โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

สรุปได้ว่าการดูแลรักษาโพรไบโอติกในร่างกายให้แข็งแรงนั้นจะขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารเป็นหลัก เพราะอาหารที่เราทานจะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในลำไส้ด้วย ซึ่งอาหารที่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กไม่ชอบก็ได้แก่ อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง สารให้ความหวานแทนน้ำตาล และแอลกอฮอล์ ดังนั้นถ้าใครหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนี้ได้ก็ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพื่อให้ร่างกายรักษาความสมดุลของแบคทีเรียดีไว้ได้นั่นเองค่ะ

ประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับผู้หญิง

โพรไบโอติกสำหรับผู้หญิง

หลายคนคงเคยได้ยินประโยชน์ของโพรไบโอติกกันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย การปรับระบบลำไส้ให้เกิดความสมดุล หรือการควบคุมอารมณ์ให้รู้สึกผ่อนคลาย จะเห็นได้ว่าทุกประโยชน์ของโพรไบโอติกล้วนดีต่อสุขภาพของคุณทั้งนั้น

แต่คุณรู้หรือไม่ว่าโพรไบโอติกนั้นยังมีประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้หญิงด้วยนะ ตั้งแต่สุขภาพทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด ภาวะการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงสภาพผิวพรรณ ซึ่งโพรไบโอติกจะช่วยอะไรในแต่ละข้อได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โพรไบโอติกสำหรับผู้หญิงคืออะไร ?

ภายในลำไส้ของเรานั้นเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่จะคอยสร้างระบบนิเวศอย่าง ไมโครไบโอม (Microbiome) ที่เป็นส่วนช่วยทำให้เกิดความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ไมโครไบโอมแข็งแรงได้ก็คือ การทานอาหารที่จะช่วยปรับความสมดุลระหว่างแบคทีเรียทั้งดีและไม่ดีเกือบ 1,000 สายพันธุ์ในลำไส้ โดยต้องเป็นอาหารที่จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลายชื่นชอบมันด้วย

 

โพรไบโอติก ก็จัดว่าเป็นอาหารที่จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลายต่างชื่นชอบ ไพรโบโอติกมีลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก สามารถทนต่อกรดและด่างได้ รวมถึงต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ไม่ดีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด โดยเมื่อรับประทานโพรไบโอติกเข้าไปแล้วก็จะช่วยให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของร่างกาย ซึ่งอาหารที่พบโพรไบโอติกได้มากที่สุดก็คือ “โยเกิร์ต” จากนั้นก็ตามด้วยอาหารหมักดองต่าง ๆ เช่น นมเปรี้ยว กะหล่ำปลีดอง คอมบูชา ผักดอง และกิมจิ แต่ถ้าใครไม่ชอบทานอาหารหมักดอง อาหารเสริมโพรไบโอติกที่รวมจุลินทรีย์มากมายหลายสายพันธุ์ก็ถือว่าตอบโจทย์ เพราะสามารถช่วยปรับสมดุลในระบบขับถ่ายและระบบทางเดินอาหารได้ดีเช่นเดียวกันค่ะ

โพรไบโอติกกับผู้หญิง

ไมโครไบโอมที่แข็งแรงจะช่วยสนับสนุนให้ร่างกายมีสุขภาพดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถทำลายความสงบสุขของระบบนี้ได้ เช่น ความเครียดเรื้อรัง การรับประทานน้ำตาลและอาหารแปรรูปมากเกินไป หรือการทานยาปฏิชีวนะที่ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย เพราะยาปฏิชีวนะจะทำหน้าที่กำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีออกไป แต่พวกมันยังทำลายแบคทีเรียที่ดีในไมโครไบโอมไปด้วย

 

ถึงแม้ว่าทุกคนจะได้รับผลกระทบจากความเสียสมดุลของแบคทีเรียในระบบลำไส้ แต่ในกลุ่มผู้หญิงก็ควรจะคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะภายในช่องคลอดของผู้หญิงนั้นมีไมโครไบโอมที่ละเอียดอ่อน ส่งผลต่อภาวะการเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบปัญหาว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเครียดมากกว่าผู้ชาย รวมถึงมีผลกระทบด้านการรับประทานยาปฏิชีวนะที่มากกว่าผู้ชายอีกด้วย ดังนั้นการรักษาความสมดุลของแบคทีเรียที่ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้หญิงมาก ๆ ค่ะ

ประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับผู้หญิง

ประโยชน์ของโพรไบโอติก

เมื่อไมโครไบโอมของคุณไม่อยู่ในสภาวะที่สมดุล ก็อาจนำไปสู่ภาวะปัญหาต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคภูมิแพ้ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน สภาพผิว น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยครั้ง เป็นต้น ซึ่งถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้ คุณอาจต้องพิจารณาการรับประทานโพรไบโอติกให้มากขึ้น เพราะโพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้หญิงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น

ดีต่อลำไส้ของคุณ

เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของผู้หญิงนั้นอ่อนแอกว่าผู้ชาย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาระบบการย่อยอาหาร โดยการเสริมโพรไบโอติกจะช่วยคืนความสงบเรียบร้อยให้แก่ระบบทางเดินอาหาร ช่วยรักษาไมโครไบโอมในลำไส้ให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงและป้องกันความรุนแรงจากอาการท้องอืด ท้องร่วง รวมถึงช่วยในเรื่องของการดูดซึมและย่อยอาหารได้ดี 

 

ช่วยปรับสมดุลไมโครไบโอมในช่องคลอด

ใครเคยเป็นภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะกันบ้างไหมคะ ? อาการเหล่านี้มักเกิดจากแบคทีเรียที่ไม่ดีภายในช่องคลอดมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่ดี ซึ่งไมโครไบโอมในช่องคลอดจะเป็นแนวป้องกันแรกในการป้องกันการติดเชื้อ ถ้าหากเรารับประทานโพรไบโอติกในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย ก็จะสามารถช่วยให้แบคทีเรียที่ไม่ดีในช่องคลอดนั้นหายไปได้ค่ะ

ช่วยควบคุมน้ำหนักได้

โพรไบโอติกบางประเภทสามารถช่วยป้องกันการดูดซึมไขมันอาหารในลำไส้ได้ ทำให้ไขมันนั้นถูกขับออกมาทางอุจจาระแทนที่จะเก็บไว้ในร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักและไขมันสะสมในหน้าท้อง อีกทั้งโพรไบโอติกยังสามารถเพิ่มฮอร์โมนอย่าง GLP-1 ที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น และเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้นอีกด้วย

มีประโยชน์ต่อผิวพรรณ

เมื่อร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลทำให้ผิวพรรณของคุณดีขึ้นด้วย เพราะโพรไบโอติกมีส่วนช่วยในการลดอาการภูมิแพ้ อาการระคายเคืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผื่น สิว ผด และกลากเกลื้อน ซึ่งในปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหลายแบรนด์ที่เริ่มผสมโพรไบโอติกลงไป เพื่อช่วยลดรอยแดงและการอักเสบบนผิว

 

จากประโยชน์โพรไบโอติกสำหรับผู้หญิงที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จะเห็นได้ว่าโพรไบโอติกมีประโยชน์เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้หญิงที่ช่วยทำให้มีสุขภาพดีขึ้นได้ ช่วยควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างครอบคลุม ส่งผลให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคุณก็ควรเลือกทานอาหารเสริมโพรไบโอติกที่เหมาะสมตรงกับความต้องการเฉพาะของคุณ เพราะโพรไบโอติกก็มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน

Holista จะช่วยปรับสมดุลลำไส้ ฟื้นฟูลำไส้ ดูดซับสิ่งสกปรกและสารพิษในลำไส้ ล้างของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ได้อย่างหมดจด ลดอาการท้องอืด กรดไหลย้อน ทำให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นระบบ 

มั่นใจได้ว่า ปลอดภัย เห็นผลลัพธ์จริง ช่วยปรับสมดุลลำไส้และฟื้นฟูระบบการย่อยอาหารแบบครบวงจร ดูแลครบ จบในซองเดียว ! คลิกเลยโปร 1 แถม 1

ทำความรู้จักกับ “ไฟเบอร์” ตัวช่วยระบบขับถ่าย

ไฟเบอร์คืออะไร

เมื่อพูดถึงการขับถ่ายหรือระบบการย่อยอาหารที่ดี สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงแน่นอนว่าต้องหนีไม่พ้น “ไฟเบอร์” เส้นใยอาหารที่มาจากผักผลไม้ มีคุณสมบัติโดดเด่นที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้การทำงานของลำไส้เกิดความสมดุล ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติและขับถ่ายของเสียออกมาได้ รวมถึงยังเป็นตัวช่วยให้กับผู้ที่มีปัญหาท้องผูกเรื้อรังอีกด้วย

แล้วถ้าไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่ายล่ะ การรับประทานไฟเบอร์นั้นยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มั้ย? บอกเลยว่านอกจากประโยชน์ในเรื่องของการขับถ่ายแล้ว ไฟเบอร์ยังมีคุณประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประโยชน์ของไฟเบอร์ในทุก ๆ ด้าน ไปดูกันเลย!

 

ไฟเบอร์คืออะไร ?

ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร ที่มีอีกชื่อว่า “เซลลูโลส” เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบได้ในอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งร่างกายคนเราจะไม่สามารถย่อยสลายและนำไปใช้งานได้เอง แต่ไฟเบอร์จะมีความสำคัญในการช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ตามปกติ ตั้งแต่การขับถ่ายไปจนถึงการสร้างภูมิคุ้มกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องได้รับไฟเบอร์เข้าสู่ร่างกายเป็นประจำในทุก ๆ วัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดีค่ะ

ประเภทของไฟเบอร์

ประเภทของไฟเบอร์

1. ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ (Soluble dietary Fiber)

มีลักษณะคล้ายกับก้อนเจลนุ่ม ๆ ที่จะพองตัวเป็นเจลในลำไส้ ทำให้ลำไส้ย่อยและดูดซึมอาหารได้ช้าลง ดูดซับน้ำมันและน้ำตาลเอาไว้ก่อนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลภายในร่างกายลดน้อยลง สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ลดไขมันเลว LDL ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี โดยไฟเบอร์ชนิดนี้มักจะพบได้ในธัญพืชที่ขัดสีน้อย ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต ผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม ฝรั่ง แอปเปิ้ล ลูกพรุน และสตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น

2. ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำไม่ได้ (Insoluble Fiber)

มีลักษณะพองตัวได้คล้ายกับฟองน้ำ สามารถดูดซับน้ำได้ดี แต่ไม่มีความหนืดเหมือนไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มกากใยอาหารและปริมาณน้ำภายในกระเพาะอาหาร กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี ทำให้ร่างกายอิ่มไวมากขึ้น 

 

นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาณและน้ำหนักของอุจจาระ ทำให้อุจจาระนุ่มและเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก ช่วงเวลาที่กากอาหารติดค้างอยู่ในทางเดินอาหารก็สั้นลง ขับถ่ายเร็วขึ้น มีประโยชน์ในการแก้ท้องผูก โรคลำไส้แปรปรวน และลดความเสี่ยงการเกิดริดสีดวงค่ะ

 

การทานไฟเบอร์ชนิดนี้จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาท้องผูก หรือผู้ที่ต้องการทำความสะอาดระบบทางเดินอาหาร (Detox) ซึ่งในปัจจุบันหลายคนก็นิยมเรียกไฟเบอร์กลุ่มนี้ว่า “พรีไบโอติก (Prebiotics)” เพราะช่วยส่งเสริมให้แบคทีเรียกลุ่ม “โพรไบโอติก (Probiotics)” เจริญเติบโตได้ดี โดยไฟเบอร์ชนิดนี้มักจะพบได้ในรำข้าว อ้อย ซีเรียล ขนมปังไม่ขัดสี และผักต่าง ๆ 

ประโยชน์ของไฟเบอร์

  • กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ขับถ่ายเป็นปกติ
  • ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ ทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายออกมาได้ง่าย
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • อิ่มอยู่ท้องได้นาน เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ดูดซับสารก่อมะเร็งที่ปนมากับอาหาร และขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระ 
  • ลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

ปริมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับในแต่ละวัน

นักโภชนาการแนะนำว่าการรับประทานไฟเบอร์ให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน จะอยู่ที่ประมาณ 25-30 กรัม แต่คนส่วนใหญ่มักจะรับประทานไฟเบอร์ได้เพียง 2 ใน 3 ของปริมาณที่แนะนำเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการท้องอืด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารได้ค่ะ

 

สรุปได้ว่าไฟเบอร์นั้นเป็นเส้นใยอาหารที่มาจากผักผลไม้ มีคุณสมบติโดดเด่นที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้การทำงานของลำไส้เกิดความสมดุล ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติและขับถ่ายของเสียออกมาได้ โดยมีทั้งประเภทละลายน้ำได้ และไม่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งทั้งสองประเภทก็จะมีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป 

 

สำหรับใครที่ไม่มั่นใจว่าจะรับประทานไฟเบอร์ในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันได้ เราแนะนำให้มองหาอาหารเสริมไฟเบอร์มารับประทานร่วมด้วยค่ะ