โฮลิสต้า (ประเทศไทย) | HOLISTA

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นกรดไหลย้อน?

หลายคนคงเคยประสบปัญหากับอาการเรอเปรี้ยวปาก มีรสขมในปาก จุกเสียดแน่นท้อง หรือปวดแสบปวดร้อนกลางอก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกรดไหลย้อน” หรือ GERD (Gastroesophageal Reflux Disease) ที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบได้มากในกลุ่มคนอ้วน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร และการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น

 

โรคกรดไหลย้อนนับเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและสร้างความน่ารำคาญในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังไม่สามารถรักษาหายได้ด้วยการรับประทานยาอย่างเดียว แต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งหมด!

 

วันนี้เราจึงได้รวบรวมอาการและสาเหตุของการเป็นโรคกรดไหลย้อนมาให้แล้ว เพื่อที่คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อนกำเริบ ซึ่งสัญญาณเตือนของการเป็นโรคกรดไหลย้อนจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

กรดไหลย้อนเกิดจากอะไร?

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วกลไกร่างกายของเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างหลังจากรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมักจะมีกรดที่ย้อนขึ้นมาในปริมาณมากและบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือเรียกว่าหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร่วมได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน

หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคกรดไหลย้อน คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้วล้มตัวนอนลงทันที ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ รวมไปถึงท่านอนราบก็ยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ อีกทั้งการกินแล้วนอนทันทียังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่าเลยค่ะ

 

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
  • การรับประทานของมันหรือของทอดมากเกินไป
  • ภาวะความเครียด เพราะความเครียดทำให้ภาวะหลอดอาหารมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น อ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน
  • แสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก มักเกิดหลังเมื่อรับประทานอาหารมื้อหนัก
  • เรอเปรี้ยวหรือขมในปาก มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  • ท้องอืด แน่นอนท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
  • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
  • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  • เจ็บคอเรื้อรัง หืดหอบ ไอแห้ง หรือเสียงแหบ

การป้องกันโรคกรดไหลย้อน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม กระเทียม หัวหอม เป็นต้น 
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ และปรับเปลี่ยนแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ แทน
  • ผ่อนคลายความเครียด เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ เป็นต้น
  • การควบคุมน้ำหนัก เพราะถ้าหากน้ำหนักลดลง ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลงตาม ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง อาการกรดไหลย้อนก็จะลดลงตามไปด้วย
  • หลีกเลี่ยงการนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หรือหากนอนควรนอนหนุนหมอนสูง และไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที
  • การทานโพรไบโอติกจะช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน

โพรไบโอติกช่วยรักษากรดไหลย้อนได้อย่างไร?

โพรไบโอติกรักษากรดไหลย้อน

โพรไบโอติก เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถทนต่อกรดและด่างได้ อีกทั้งยังต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ไม่ดีอื่นๆ ได้ทั้งหมด เมื่อรับประทานโพรไบโอติกเข้าไปแล้วก็จะช่วยให้เกิดความสมดุลของร่างกายทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของลำไส้ที่แข็งแรง ผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง รวมถึงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

 

ซึ่งโพรไบโอติกก็มีสรรพคุณในการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร ช่วยให้ลำไส้และหูรูดบีบตัวได้อย่างเป็นปกติ ทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ขับถ่ายของเสียที่สะสมในลำไส้ รวมถึงยังลดความเสี่ยงการเกิดกรดไหลย้อนได้อย่างถาวร

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโรคกรดไหลย้อนนั้นเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ด้วยการรับประทานยาอย่างเดียว แต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งหมด เพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้กรดไหลย้อนกำเริบ 

ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม รวมไปการควบคุมความเครียด การควบคุมน้ำหนัก และการทานโพรไบโอติก แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ แล้ว อาการกรดไหลย้อนก็ยังไม่ดีขึ้น เป็นเรื้อรังไม่หายขาด เราแนะนำให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจอาการของโรคเพิ่มเติมค่ะ